หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

Learning by CAI



แผนการจัดการเรียนรู้วิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4

หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (เวลา 4 ชั่วโมง)


ความคิดรวบยอด 
     การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์หรือการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้งเป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร็ว 2 แนว พร้อมๆกันคือ แนวระดับและแนวดิ่ง  ความเร็วในแนวระดับมีค่าคงตัว ส่วนในแนวดิ่งวัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง คือจะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งลดลงเรื่อยๆ  คือจะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรือลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ตามแนวของความเร็วลัพธ์ทำให้การเคลื่อนที่ของวัตถุมีวิถีโค้ง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
    
     ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และอธิบายเกี่ยวกับเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ พร้อมทั้งสามารถอธิบายการนำความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จุดประสงค์การเรียนรู้ 
     1.ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายความหมายของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได้และลักษณะของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ได
     2.ผู้เรียนสามารถอธิบายการนำความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได  

สาระการเรียนรู้ 
     1.การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
    
2.การนำความรู้เกี่ยวกับโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  

กิจกรรมการเรียนการสอน 
     1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

     1.1.นำเกม Angry Bird มาให้เด็กเล่น

    1.2.ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในเกม เพื่อนำเข้าสู่บทเรียน

    1.3.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
    

     2.ขั้นสอน

     2.1.สอนเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ เพื่อให้นักเรียนเห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายขึ้น

      2.2.ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโดยให้นักเรียนดูภาพการเคลื่อนที่แบบต่างๆจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและตอบว่าใช่การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์หรือไม่

      2.3.ให้นักเรียนทำการทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในรูปแบบของเกม ให้ผู้เรียนคำนวณว่าระยะทางเท่านี้ควรใช้มุมและแรงเท่าใด

      2.4.ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดโดยใช้เกม 

     2.5.ให้นักเรียนกลับไปทบทวนบทเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและหาความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเรียน 
     3.ขั้นสรุป

     3.1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ในชั้นเรียนเกี่ยวกับความหมายและลักษณะการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

     3.3.ให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ ร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียนเกี่ยวกับการนำความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

     3.2.เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยและร่วมกันสรุปเพื่อให้นักเรียนเข้าใจตรงกัน 

สื่อการเรียนรู้

     1.เกม Angry Bird

     2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

     3.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ฟิสิกส์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของ สสวท.

     4.คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต


การวัดและประเมินผล 
     1.วัดความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนโดยภาพรวมจากการถามตอบในห้องเรียน

     2.ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจเป็นรายบุคคล

อ้างอิง  

บทเรียนการเคลื่อนที่แบบ Projectile
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/9/science/Projectile-motion/start.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น